วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วัดหนองเสม็ด


วัดหนองเสม็ด ที่ตั้ง เลขที่ 54 หมู่3 บ้านหนองเสม็ด ถนน



ชลประทาน(เขาระกำ) ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดตราด 

วัดหนองเสม็ดประกาศจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2400 ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ

วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 พระประธานประจำอุโบสถ ปางมาร

วิชัย เป็นศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระครูโฆษิตวิริยะคุณ

 เป็นเจ้าอาวาส และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองโสน และ

เป็นพระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) วัดหนองเสม็ดเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง

ปี พ.ศ.2543 และยังให้การสนับสนุนพื้นที่กับหน่วยงานราชการ 

องค์กรต่างๆในการจัดประชุม อบรม หรือจัดกิจกรรม เนื่องจากทางวัด

มีความพร้อมทั้งด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ นอกจากนี้วัดหนองเสม็ด

ยังให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น เช่นหนังตะลุง โหงฟาง 

และรำสวด ของศิลปินพื้นบ้านอีกด้วย เจ้าอาวาส พระคณูโฆษิตวิริยะ

คุณ (ธงชัย ฉน̣ทวิริโย) อุปสมบทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2527

 สำเร็จนักธรรมเอก ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองโสน ได้รับคัด

เลือกให้เป็นผู้ทำคุณปรโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ปี พ.ศ.2552 สาขา

การพัฒนาชุมชน มีความรู้เรื่องการจัดศาสนพิธีต่างๆ และเป็นพิธีกร

ของคณะสงฆ์จังหวัดตราด

วัดท่าโสม

 วัดท่าโสม ตั้งอยู่ ม.1 บ้านท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ของตำบลท่าโสม ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2405 เดิมชื่อวัดศรีษะปาราม ต่อมาตั้งชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับหมู่บ้านจึงตั้งชื่อว่า "วัดท่าโสม" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีเมื่อ พ.ศ.2505 เมื่อเริ่มเข้ามาในบริเวณวัดก็จะเห็นพระประทานพรซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนชาวท่าโสมให้ความเคารพนับถือ วัดท่าโสมมีพระหยกที่ประดิษฐานเป็นพระประธานพระอุโบสถ หลังใหม่ เป็นหยกที่นำมาจากเมืองจีน ซึ่งเป็นพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกและเป็นพระหยกที่หายากและมีความงดงามยิ่ง ภายในอุโบสถยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม และยังมีศาลาร้อยปีซึ่งปัจจุบันได้รับการปรับปรุงเป็นศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน ตำบลท่าโสม เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ แหล่งศึกษาดูงานและพิพิธภัณฑ์

วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม(โบราณสถานเขาโต๊ะโม๊ะ)

วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม(โบราณสถานเขาโต๊ะโม๊ะ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านอีเร็ม ตำบลประณีต อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเขาสมิงประมาณ ๓๘ กิโลเมตร  วัดนี้เป็นวัดที่มีความร่มรื่น ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อน และการปฏิบัติธรรม ส่วนบริเวณวัดด้านทิศใต้เป็นที่ตั้งโบราณสถานเขาโต๊ะโมะ ที่คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล มีความเชื่อว่าใต้พื้นบริเวณโบราณสถานมีสมบัติเป็นแสนตุ่ม อันเป็นที่มาของชื่อวัดแสนตุ่ม โบราณสถานเขาโต๊ะโมะ มีลักษณะเป็นเนินดิน มีต้นไม้ปกคลุม มีแท่งหินวางอยู่เรียงราย หินเหล่านี้มีสีน้ำตาลเข้ม เป็นรูปเหลี่ยมตั้งแต่สี่เหลี่ยมถึงเก้าเหลี่ยม ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ถึง 150 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 20 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 10 กิโลกรัมถึง 100 กิโลกรัม การวางเรียงซ้อนของหินคล้ายเทวสถาน หินบางก้อนเมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวานเหมือนเคาะระฆัง

วัดโยธานิมิตร



วัดโยธานิมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ถ.เทศบาล 4 อ.เมือง สังกัดมหานิกาย ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า “วัดโบสถ์” ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่นอน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของเมืองตราด ในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงรวบรวมบรรดารี้พลที่วัดแห่งนี้ เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังคุมทัพเรือมาทำสงครามกับเขมร และระหว่างที่พักกองทัพอยู่นั้น ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นขนานนามว่า “วัดโยธานิมิต” เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจระลึกถึงการที่เคยได้ร่วมรบ ร่วมกิน ร่วมนอนมาด้วยกัน โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ ได้แก่ พระวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า) ซึ่งเป็นศิลปะแบบอยุธยา ภายในพระวิหารมีภาพเขียนจิตกรรมฝาผนังที่น่าสนใจ เช่น ภาพเขียนเรื่องเวสสันดรชาดก ฯลฯ และเคยเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองตราด วัดโยธานิมิต (วัดโบสถ์) เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงาน

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ขอแนะนำตัวน่ะครับ



แนะนำตัวน่ะครับ

ผมชื่อนายบุญฤทธิ์ เดชกล้า อายุ 15 ปี

วัน/เดือน/ปีเกิด  28 มกราคม 2542

ชื่อเฟสน่ะ เคยเป็นคนที่ถูกรัก ตอนนี้เป้นที่ถูกทิ้ง

เว็บของผมเกี่ยวกับ วัดไนจังหวัดตราดน่ะครับ ว่ามีกี่วัด มีที่ใดบ้าง ชื่อว่าอะไรบ้าง

มีความเป็นมาอย่างไร มีอายุร่วมกี่ปี น่ะครับ

เหตุผลที่สร้างเว็บนี้เพราะว่า คนสมัยไหม่ไนจังหวัดตราดไม่ค่อยเข้าวัดกันเลย

ผมก็เลยมีความคิดที่จะสร้างเว็บนี้ขึ้นมา